เกณฑ์การยอมรับ
เมื่อตรวจสอบตามวิธีมาตรฐานที่ยึดถือแล้ว หากเกิดความเห็นที่ขัดแย้งกันในเรื่องความหนาของการชุบ อาจใช้วิธีที่กำหนดขึ้นมาโดยเฉพาะและเห็นชอบด้วยกันทั้งฝ่ายผู้สั่งชุบและผู้รับชุบ เช่น การตัดชิ้นส่วนแล้วนำไปทดสอบการสูญเสียมวลของสังกะสี (mass loss determinations) ฯลฯ บางครั้งปัญหาก็อาจจะเกิดขึ้นจากการเข้าใจไม่ถูกต้อง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับชิ้นงานที่ทำขึ้นจากเหล็กที่มีความหนาหรือ รูปร่างต่างกัน ความเข้าใจที่มักผิดก็คือ การพยายามจะให้ชุบเพื่อให้ ได้ความหนาเท่ากันตลอดชิ้นงาน ซึ่งไม่มีความจำเป็นหรือทำได้ยากและสิ้นเปลืองมาก วิธีการที่ถูกต้องก็คือการวัดความหนาแยกตามขนาดชิ้นงานและรูปร่าง บางครั้งการตรวจสอบที่ชิ้นงานตัวอย่าง จะพบว่าความหนาของการชุบไม่ได้ตามค่าที่กำหนด อาจจะสุ่มตัวอย่างจากลอตนั้นขึ้นมาวัดใหม่อีกสัก 2-3 ชิ้นหรือวัดชิ้นงานทุกชิ้นถ้าสามารถทำได้ หากชิ้นงานส่วนใหญ่สามารถผ่านการตรวจสอบได้มาตรฐาน ISO 1461:1999(E) ให้ถือว่าลอตนั้นยอมรับได้
การตรวจสอบชิ้นงาน ที่ผ่านการชุบสังกะสี แบบจุ่มร้อน
ก.เกณฑ์ตัดสินใจที่ยอมรับได้
1.Dull grey coating (ชั้นสีเทาด้าน)
สาเหตุจากการโตขึ้นของชั้นโลหะผสมสังกะสี-เหล็กผ่านทางผิวชุบ และมักพบกับเหล็กที่มีปริมาณซิลิกอน ผสมอยู่สูง หรือตามแนวเชื่อม ไม่มีข้อเสีย ใดๆ ต่อชิ้นงาน
dull grey coating
2.Blisters
ยอมรับได้ หากเกิดขึ้นไม่มากนักเป็นอาการพองตัวของผิวชุบ พบได้ไม่บ่อยนัก สาเหตุเกิดจากการดูดซับไฮโดรเจนของเหล็ก ขณะถูกกระตุ้นผิวแล้วพองเมื่อโดนความร้อนขณะชุบ
3.Rust stains
ยอมรับได้ หากเกิดขึ้นเฉพาะที่ผิวเกิดจากการสัมผัส หรือมีการไหลออกมาจากพื้นผิวอื่นที่ผุกร่อน หรือจากรอยถลอก ไม่เป็นผลเสียต่อความสามารถต้านทานต่อการกัดกร่อน
rust stains
4.General roughness (ผิวขรุขระ)
ยอมรับได้ นอกจากจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
โดยทั่วไปผิวหยาบ อาจเกิดจากการจุ่มกรดกระตุ้นผิวมากเกินไป หรือจุ่มในอ่างชุบเป็นเวลานาน หรือ กระทั่งอุณหภูมิของนํ้าสังกะสีอ่างชุบสูงเกินไป ไม่มีผลเสียต่อชิ้นงาน
general roughness
5.Lumpiness and runs
ยอมรับได้ นอก จากจะตกลงกันเป็นอย่างอื่นลักษณะเป็นผิวปูดเป็นก้อน และแนวไหล,ย้อย หากดูแล้วไม่สวยงาม ก็ซ่อมแซมผิวหน้าได้ ไม่มีผลเสียต่อชิ้นงาน
Lumpiness and runs
6.Pimples (หนังคางคก)
ยอมรับ/ไม่ยอมรับ ขึ้นอยู่กับขนาดและขอบเขต
ลักษณะผิวขรุขระ เป็นก้อนเล็กๆ จำนวนมาก มักเกิดจาก ดรอสของการชุบ ซึ่งจะทำให้ผิวหน้าที่ชุบมี ความเปราะ
Pimples
7.Bare spots (บริเวณที่ชุบสังกะสีไม่ติด)
ยอมรับได้ หากกินพื้นที่ไม่มากนัก และพิจารณาแล้วเห็นว่า ซ่อมแซมได้
สาเหตุมาจากการเตรียมชิ้นงานของผู้รับชุบ, มีเศษเชื่อมตกค้าง, ผิวเหล็กมีร่อง หากขนาดไม่กว้างกว่า 3 mm มีผลเสียต่อชิ้นงานเล็กน้อย แต่มีการป้องกันแบบ cathodic อยู่แล้ว
bare spots
8.Dark spots / Flux staining
ยอมรับได้ ถ้าฟลัก ที่ตกค้างถูกเอาออกไป
รอยด่างหรือคราบสกปรก ที่เกิดจากชิ้นงานสัมผัสกับพื้นหรือสิ่งอื่น ซึ่งสามารถล้างออกได้ แต่ถ้าเป็นคราบฟลักเก่าที่เกาะชิ้นงานแล้วถูกนำไปชุบซ้ำ
ไม่ควรรับชิ้นงานเพราะจะมีความชื้นอยู่ในผิว
dark spots / flux staining
9.Distortion
ยอมรับ/ไม่ยอมรับ
หากการชุบผิวเป็น แบบหมุนเหวี่ยง (centifuged) โอกาสที่ชิ้นงานจะบิดเบี้ยวจากแรงเหวี่ยงมีค่อนข้างมาก การจะรับชิ้นงานหรือไม่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ตรวจสอบ
ข.เกณฑ์ตัดสินใจที่ไม่ถูกยอมรับ
1.Wet storage stain or bulky white deposit
เป็นเกณฑ์ตัดสินใจ ซึ่งถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับชุบ นอกเสียจากยังไม่ได้ส่งมอบชิ้นงานให้กับผู้สั่งชุบ
สาเหตุหลักมาจาก การจัดเก็บที่ไม่ดีและมีความชื้นสูง สามารถแก้ใขได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยการจัดเก็บในสภาวะแวดล้อมที่มีการควบคุมให้แห้งสะอาดและมีการระบายอากาศ หากเป็นไปได้ควรเก็บสินค้าไว้โดยมีสิ่งห่อหุ้ม หรือติดตั้งเครื่องให้ความร้อน เพื่อไล่ไอน้ำและความชื้นออกไปจากสถานที่จัดเก็บ หากมีความจำเป็นจะต้องวางสินค้าซ้อนกันก็ไม่ควรซ้อนกันสูงนัก โดยเฉพาะชิ้นงานที่มีน้ำหนักมาก และควรมีวัสดุคั่นไว้เพื่อมิให้ชิ้นงานสัมผัสกัน เพราะอาจเกิดรอยถลอก และเป็นการระบายอากาศ หากวัสดุคั่นเป็นไม้ก็ควรเป็นชนิดไม่มียาง
wet storage stain หรือ bulky white deposit