ประโยชน์ที่ได้รับจากการชุบสังกะสี บนผิวเหล็กด้วยวิธีจุ่มร้อน

Picture-006
p10

สามารถสรุปโดยย่อได้ ด้งนี้
1. สามารถชุบเคลือบผิวงานเหล็กได้แทบทุกชนิด เป็นกระบวนการต้านทานการกัดกร่อนเหล็กที่มีต้นทุนในระยะยาวตํ่าที่สุด ในหลายๆ กรณียังมีราคาแรกเริ่มตํ่าสุดอีกด้วย
2. กระบวนการชุบทำให้สังกะสี กลายเป็นส่วนหนึ่งของผิวหน้าเหล็ก จึงสามารถป้องกันเหล็กจากการถูกกัดกร่อนได้ในตัว
3. โครงสร้างที่ดีเลิศทางโลหะวิทยาของการเคลือบผิว ทำให้ได้ผิวหน้าที่มีความเหนียวทนทาน (toughness) และต้านทานต่อความเสียหายจากการกดกระแทกทางกล ขณะขนส่ง, ติดตั้ง และใช้งาน
4. การชุบเคลือบผิวทำให้สามารถคาดการณ์ถึงการกัดกร่อนซึ่งมีอัตราตํ่ามาก โดยต่ำกว่าเหล็กที่ไม่มีการชุบตั้งแต่ 17 ถึง 80 เท่า ซึ่งปกติอัตราการสลายตัวทั่วไป อยู่ที่ประมาณ 1 ไมครอนต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมกลางแจ้ง ว่ามีการกัดกร่อนรุนแรงเพียงใด ความหนาของชั้นสังกะสีที่เคลือบผิวเหล็ก ประมาณ 45-200 ไมครอน (ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของเหล็กที่นำมาชุบ) เพราะฉะนั้นชิ้นงานที่ผ่านการชุบ จึงมีอายุการใช้งานนานนับสิบปี
5. การชุบเคลือบผิวเหล็กด้วยสังกะสี ผิวเคลือบจะแสดงคุณสมบัติเป็นขั้วบวก หากมีรอยขูดขีดจนกระทั่งเนื้อเหล็กสัมผัสเข้ากับกรดผิวสังกะสีจะถูกกัดกร่อนไปก่อน ที่จะลุกลามไปยังเนื้อเหล็ก ลักษณะการป้องกันเหล็กด้วยสังกะสีแบบนี้เรียกว่า Galvanizing’s cathodic protection
6. กระบวนการชุบจะทำให้ได้ค่าความหนาของสังกะสีตํ่าสุดตามที่ มาตรฐานกำหนดได้อย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาทีแรกเลย
7. ในระหว่างทำการชุบ ชิ้นงานจะถูกจุ่มลงไปในอ่างชุบสังกะสีอย่างสมบูรณ์ ทำให้ทุกพื้นที่ถูกชุบอย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นตามซอกมุมหรือจุดที่เข้าถึงได้ยาก ซึ่งเป็นขีดจำกัดของวิธีการอื่นๆ
8. การชุบเคลือบผิวด้วยสังกะสี เป็นการตรวจสอบตัวเองไปในตัว เพราะว่าหากมีจุดที่ชุบสังกะสีไม่ติด ก็แสดงว่าการทำความสะอาดชิ้นงานในขั้นตอนการเตรียมผิวด้วยนํ้ายาเคมีทำได้ไม่ดี ทำให้ผิวไม่สะอาดจริง จึงต้องแก้ไข
9. กระบวนการชุบสามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายได้ โดยชุบได้ตั้งแต่ชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กๆ เช่น โบลต์และนัต, สลักและตัวจับยึดทั้งหลาย, ตะแกรง, คอกปศุสัตว์ จนกระทั่งถึงโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น สะพานเหล็ก, เสาส่งไฟฟ้าแรงสูง,โครงสร้างเหล็กของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ฯลฯ
10. ไม่ทำให้คุณสมบัติทางกลของ เหล็กที่นำมาชุบเปลี่ยนแปลงไป
11. ทำให้ชิ้นงานมีสมรรถนะในการต้านทานการกัดกร่อนอย่างดีเลิศในหลายๆ สภาวะแวดล้อม
12. สามารถเคลือบผิวป้องกันแบบสองชั้น (duplex coating) ได้โดยการทาสีลงไปบนผิวเคลือบอีกชั้นหนึ่ง เป็นการช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนให้สูงขึ้นไปอีก วิธีการแบบนี้จะพบได้ในบริเวณสภาวะแวดล้อมที่มีการกัดกร่อนค่อนข้างสูงหรือรุนแรง เช่น พื้นที่เขตอุตสาหกรรมหนาแน่น, อุตสาหกรรมปิโตรเคมี, ปิโตรเลียม ฯลฯ รายละเอียดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก AGA publication, Duplex Systems : Painting Over Hot Dip Galvanized Steel.

แหล่งข้อมูล
ผู้สนใจข้อมูลเกี่ยวกับการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน สามารถค้นหาได้จากแหล่งข้อมูล และข้อมูลต่างๆ ดังนี้ มาตรฐานอ้างอิง
1. American Society for Testing and Materials (ASTM)
2. Australian Standards (AS)
3. International Organization for Standardization (ISO)
4. British Standard (BS)
5. Federal Specifications